คลังเก็บป้ายกำกับ: น้ำท่วม

คลื่นซัดสาดน้ำท่วมอุบลฯ’62


ที่พักพิงชั่วคราวริมถนน ลำบากมากสำหรับคนถูกน้ำท่วม

บันทึกฉบับที่ 2 ในเหตุการณ์ “น้ำท่วมอุบลราชธานี  ปี พ.ศ. 2562” มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจหลายเรื่อง ที่อยากเอามาบันทึกไว้เป็นบทเรียนร่วมกัน ได้ช่วยกันศึกษาและวิเคราะห์ทำเป็นบทเรียน ในการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยน้ำท่วมอย่างครั้งนี้ วาตภัยในช่วงหน้าแล้งต่อหน้าฝนที่มีบ่อยๆ แผ่นดินไหว โคลนถล่ม ที่มีกันในแทบทุกภาคของประเทศไทย โดยขอนำเรื่องปรากฏการณ์ คลื่นที่สาดซัดถาโถม ในเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ มีอะไรบ้าง?

การไม่แจ้งเตือนภัยพิบัติ
อ่านเพิ่มเติม

น้ำท่วมอุบลฯ 2562

บันทึกอีกหน้าประวัติศาตร์ “น้ำท่วมอุบลฯ 2562”

แค่อยากจะบันทึกไว้ให้ลูกหลานในภายภาคหน้าได้อ่าน ระลึกถึง ได้เขียนถึงสิ่งที่เห็นด้วยตา สัมผัสด้วยโสตประสาทของตัวเอง น้ำท่วมอุบลฯ ที่ว่าหนักๆ ก็ยังไม่เท่า “ลมปากนักเลงคีย์บอร์ดที่เอาแต่มโนบนฟูก” เลย นอกจากไม่สร้างสรรค์ ยังบั่นทอนกำลังใจคนทำงานในพื้นที่ สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้ประสบภัยเพิ่มมากขึ้นอีก จะบอกว่า “มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ” ก็เบาไป พวกนี้แม้แต่ “นั่งขี้ในส้วม” มันยังคลั่งรัวคีย์บอร์ดด้วยตาบอดๆ ของพวกมันอีก เรียกว่า “สมองขี้เลื่อยของพวกมันล้นออกมาทำให้น้ำมูลเน่าได้อีก” จะเหมาะสมกว่าละมัง…
อ่านเพิ่มเติม

น้ำท่วมเขาว่าดีกว่าฝนแล้ง

น้ำท่วม หรือ ฝนแล้ง ทิดหมูกะบ่อยากได้

ไม่ว่าจะเป็น “แล้ง” หรือ “ท่วม” ทิดหมูกะบ่อยากพบพ้อทั้งสองอย่างครับ ตอนเดือนก่อนหน้าแล้งจนข้าวในนาเหลืองตาย มาต้นเดือนกันยายนนี้ “น้ำฝน” มาแฮงโพดโพจนท่วมมิดบ่เห็นปลายข้าวแล้ว เบิดโตกันเลยทีเดียวพี่น้องบ้านเฮา ได้แต่เป็นกำลังใจให้พี่น้องบ้านเฮาเด้อครับ สู้กันต่อไปกับภัยธรรมชาติครั้งนี้


อ่านเพิ่มเติม

ปลูก 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง

ปลูก ไม้ 3 อย่าง ให้ประโยขน์ 4 ประการ

ทุกวันนี้ พวกเฮาต่างรู้กันแล้วว่า ฤดูกาลที่ผิดเพี้ยนและภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นทุกปีนั้น มีสาเหตุหลักๆ มาจากการทำลายและทำร้ายธรรมชาติที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม โดยเฉพาะเรื่องของป่าไม้ ไม่เว้นแม่แต่ “ดอนปู่ตา” ที่เคยเป็นแหล่งอาหารสำคัญของหมู่บ้าน หน่อไม้ ดอกกระเจียว เห็ดนานาชนิด ใบ/ดอกของพืชที่เป็นอาหาร ป่าที่อุดมสมบูรณ์ให้ร่มเงาต่อสรรพสัตว์ นก หนู กะปอม ผึ้ง ฯลฯ ความชุ่มชื้นที่มีทำให้หนองบึงใกล้เคียงมีน้ำ มีปลา หอย ให้ได้เป็นอาหารเลี้ยงดูผู้คนทั้งหมู่บ้านได้ตลอดปี

อ่านเพิ่มเติม