กรกฎาคม 27, 2019 | 3,645 views

แล้ง ฮ้อน เบิดโลก

บ่ต้องน้อยใจ บ่อนเคยหนาวก็ร้อนตับแลบ

ปีนี้บ้านเฮาฟ้าฝนแล้งหลายคัก ขาดทั้งน้ำกินน้ำใช้ ยามฝนแท้ๆ แต่กลับมีฝนน้อย (ไม่มีฝนซะมากกว่า) และทิ้งช่วงทำเอาข้าวในนาเหลืองแห้งตาย ช่วงเข้าพรรษาปีนี้ทิดหมูมีโอกาสได้ไปเที่ยวทางกรุงเทพฯ กรุงไท ขับรถผ่านศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ โคราช ไปจนฮอดกรุงเทพฯ บ่พ้อฝนตลอดเส้นทาง เหลียวลงไปทางท่งนาเพิ่นละพากันปล่อยวัว ควายลงไปกินข้าวในนากัน ถามได้ความว่า “ปล่อยไปกะแห้งตายสื่อๆ ให้งัวควยกินยังมีประโยชน์กว่าสิถิ่มไป” อันนี้กะแม่นแล้วล่ะ ขากลับจากกรุงเทพฯ ฮอดเฮือนเมืองอุบลฯ เหลียวเทิงฟ้ากะมีเมฆบางๆ แต่บ่พ้อฝนจักเม็ดคือเก่า…

บ่มีไผน้อยหน้ากันทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ทั้งประเทศเพื่อนบ้านเฮา ต่างก็ประสบปัญหาฝนแล้งคือกันเบิด ห้วย หนอง คลอง บึง บ่ต้องเว้าเถิงแห้งขอดๆ ขนาดว่าแม่น้ำโขงบ่เคยเหือดแห้ง ปีนี้กะน้ำลดลงจนเห็นแก่งหิน สะพานข้ามแม่น้ำโขง (ขัวมิตรภาพ) กะแนมเห็นตอม่อสะพานลอยขึ้นมา บางแห่งได้ข่าวว่า หย่างข้ามไปหากันได้พุ้นหล่ะ

บ่แม่นแต่แถบประเทศบ้านเฮาเด้อ แต่ก่อนพวกเฮาเคยเว้าคุยกันว่า “ไปเที่ยวหลบลมฮ้อนกันทางยุโรป ไปเหยียบหิมะเบิ่งก่อนน่า” แต่ปีนี้บ่แม่นแล้วเด้อ บางเมืองฮ้อนกว่าบ้านเฮาอีก มันฮ้อนกันไปเบิดโลก ขนาดภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกกะยังละลายว่าซั่นแหม โอยๆ เซาอิจฉาพวกขะเจ้าได้แล้ว

“ฝรั่งดังโม” ทางนั้นเดือดฮ้อนกว่าพวกเฮาหลายๆ เพราะพวกเขาบ่เคยฮ้อนมาก่อน พอเจอสภาพอากาศแบบนี้กะ “ปานหมาหอบแดด” นั่นแหละ พากันหนีฮ้อนไปอาศัยความเย็นจากน้ำพุในสวนสาธารณะบ้าง ในห้างสรรพสินค้าบ้าง คือบ้านเขาบ่เคยฮ้อนมีแต่หนาวน้อ การก่อสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัย จึงเป็นอาคารแบบก่อิฐปิดทึบ ช่องหน้าต่างน้อยๆ ลมผ่านเข้าบ่ค่อยได้ ส่วนใหญ่บ่มีเครื่องปรับอากาศ (แอร์เย็นๆ) มีแต่ฮีทเตอร์ (เครื่องทำความร้อน ให้ความอบอุ่นในหน้าหนาว) ไปเดินในห้างก็ไม่เย็นฉ่ำแบบบ้านเฮา มีเครื่องปรับอากาศอยู่ก็เป็นแบบเย็นพอกลั้นใจตาย ลมพัดค่อยๆ พอส่ำนั้น ฝรั่งเหล่านี้จึงเดือดร้อนกว่าบ้านเฮาหลายครับ

เห็นแล้วบ่ บ่อนใดกะบ่สู้เมืองไทยเฮาดอก มีเบิดทั้งแนวอยากแนวกิน มีบ่อนไปหลบไปซ้น หลบลมฮ้อนใต้ต้นไม้พอได้อยู่ สู้ๆ น้อพี่น้องบ้านเฮานอ พวกเฮาต้องสร้างวิกฤตเป็นโอกาส มันแล้งกะบ่ต้องไปจ่มให้ผู้นั้นผู้นี่ พวกเฮามารวมแฮงสร้างสรรขุดลอกบ่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง สระน้ำในนา ให้กว้าง ให้ลึก เพื่อเก็บกักน้ำยามฝนมา เอาไว้ใช้ในแล้งปีหน้าอย่าให้ขาดให้เขินอีก

เอา “ทฤษฎีใหม่” ของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เพิ่นได้มอบให้คนไทยเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง

  • พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง เนื้อที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย)
  • พื้นที่ส่วนที่สอง เนื้อที่ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
  • พื้นที่ส่วนที่สาม เนื้อที่ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
  • พื้นที่ส่วนที่สี่ เนื้อที่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตากผลิตผล กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)

ให้เกษตรกรมีความพอเพียง โดยเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่น มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปีโดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้ “หากชาวนาต้องซื้อข้าวกิน ก็หมดสิ้นความเป็นเกษตรกรไทย” ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่แต่ละแปลง (15 ไร่) ทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผล ฯลฯ 5 ไร่ (= 10 ไร่) จะต้องมีน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

ใช้เนื้อที่รวมประมาณ 15 ไร่ ถ้ามีที่ดินน้อยหรือมากกว่านี้ เช่น 10 ไร่ ก็แบ่งตามสัดส่วนโดยประมาณ แต่ที่สำคัญต้องทำข้าวให้พอกินได้ทั้งปี อย่าหวังทำเพื่อขาย เอาให้พอกินก่อนมีเหลือค่อยแบ่งปัน และเน้นที่การทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกหลายอย่างให้สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี มีกิน มีแจกจ่ายให้ญาติมิตรในชุมชน ไม่ยากจนแน่นอน ฟันธง!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *